ปัจจุบันขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่ทุกคนต่างช่วยกันนำเข้ากระบวนการกลับไปใช้ใหม่ หรือทำการรีไซเคิล ซึ่งเชื่อได้ว่ายังมีคนจำนวนไม่น้อยไม่ทราบว่าขยะพลาสติกประเภทไหนบ้าง ที่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการการรีไซเคิลได้ ซึ่งขยะพลาสติกรีไซเคิลได้นั้นถูกแบ่งเป็น 7 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
7 สัญลักษณ์พลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้
1. PET หรือ PETE (สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 1) เป็นพลาสติกโพลีเมอร์ใส เนื้อเหนียว มีความทนทานต่อแรงกระแทก พบได้ในขวดบรรจุดน้ำดื่มและน้ำมันพืช
สามารถนำไปรีไซเคิล เป็นเส้นใยสำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม ใยสังเคราะห์ในหมอน ถุงหูหิ้ว หรือกระเป๋า เป็นต้น
2. HDPE (สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 2) เป็นพลาสติกแข็งทนทาน แตกยาก ทนต่อการทำละลายและความร้อน นิยมใช้ทำขวดนม ขวดน้ำผลไม้ โยเกิร์ต
สามารถนำไปรีไซเคิล เป็นขวดน้ำมันเครื่อง ท่อพลาสติด ไม้เทียม เป็นต้น
3. PVC (สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 3) กลุ่มนี้มีความแข็งแรงสูง ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส ของเล่นสำหรับเด็กและสัตว์เลี้ยงสามารถนำไปรีไซเคิล เป็นท่อน้ำประปาใหม่ กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เป็นต้น
4. LDPE (สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 4) เป็นโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ ใช้ทำฟิล์มห่ออาหาร และห่อสิ่งของ
สามารถนำไปรีไซเคิล ป็นถุงหูหิ้ว ถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถังขยะ
5. PP (สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 5) โพลิโพรพิลีน กลุ่มนี้ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร ถัง ตะกร้า กระบอกน้ำ ขวดบรรจุยา
สามารถนำไปรีไซเคิล กล่องแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนในรถยนต์
6. PS (สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 6) โพลีสไตรีน ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ หรือโฟมใส่อาหาร
สามารถนำไปรีไซเคิล ไม้แขวนเสื้อ ไม้บรรทัด เป็นต้น
7. OTHER (สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 7) ที่ไม่มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่สามารถนำมาหลอมใหม่ได้ มักพบบ่อยในส่วนประกอบของแว่นกันแดด, เคสไอพอด, เคสคอมพิวเตอร์
สามารถนำไปรีไซเคิล กล่องและถุงบรรจุอาหาร กระสอบปุ๋ย เป็นต้น
รู้ไหม ขวดยันฮี วิตามิน วอเตอร์ เป็นขวดประเภท PET หรือ PETE (สัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 1) สามารถนำกลับไปรีไซเคิลใหม่ได้
ที่มา: กรมควบคุมมลพิษและกรมวิทยาศาสตร์บริการ, สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, Natural Society